Ficus religiosa L.
Ficus caudata Stokes
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 ม. เปลือกสีเทา มีรากอากาศน้อย
ใบ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบแต่น้อย ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ หูใบยาว 7-50 มม. มีขนละเอียดประปราย ก้านใบยาว 4-12 ซม. อาจจะยาวกว่าแผ่นใบ ใบรูปหัวใจ กว้าง 4-16 ซม. ยาว 7-19 ซม. โคนใบเว้ารูปหัวใจหรือตัดตรง ปลายใบเรียวแหลมแคบยาว ขอบใบมักไม่เรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนสีชมพู เมื่อแก่สีเขียว ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบข้าง 6-9 คู่ ปลายโค้งจรดกันเกือบถึงขอบใบ
ดอก ดอกออกในโครงสร้างของผลตามซอกใบเป็นช่อและเป็นคู่ ภายในมีดอกเพศผู้ เพศเมีย และดอกปุ่มปม ดอกเพศผู้ไม่มีก้านอยู่ใกล้กับรูเปิดของผล กลีบรวม 2 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปไข่สีแดงอ่อน ดอกเพศเมียอยู่ลึกลงไปไม่มีก้าน กลบรวม 3-4 กลีบ รังไข่สีเหลืองอ่อน
ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-1.5 ซม. รูเปิดมีใบประดับ กว้าง 2-3 มม. 3 ใบ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ หุ้มอยู่ด้านล่างของผลโดยรอบ คลุม 2 ใน 3 ของผล ผลสุกสีแดงเข้มถึงดำ
พบได้ทั่วไปในป่าระดับล่างถึงระดับสูง 1,800 ม. จากระดับทะเลปานกลาง
อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้
แถบภูเขาหิมาลัย อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ปากีสถาน จนถึงจีนตอยใต้ และประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีน
ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เปลือก ยาสมานแผล แก้แผลเปื่อยทำให้เกิดหนอนแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดฟันและรากฟันที่เป็นหนอง
ยาง จากลำต้น แก้เท้าเป็นหล่อ และเป็นพยาธิ
ลำต้น ลำต้นอ่อน ใช้บำบัดโรคผิวหนังและเป็นยาถ่าย
ใบ ใช้แก้โรคผิวหนัง ไข้จับสั้นเรื้อรัง และเป็นยาถ่าย
ผลหรือเมล็ด ใช้เป็นยาระบาย
ข้อมูล : อุทยานหลวง ราชพฤกษ์